ย่านางแดง

ย่านางแดง เป็นไม้เถาพาดพันไปตามต้นไม้อื่น เถาขนาดกลางๆ มักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง ใบรูปหอกเรียวว่าย่านางขาวเล็กน้อย สีเขียวเข้ม ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลง สีแดงสด เป็นช่อดอกที่ปลายกิ่ง ผลเป็นฝึกแบนคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน เป็นไม้ที่หายาก พบตามป่าดิบเขา ป่าน้ำหนาวนครพนม สกลนคร และชายแดนอีสานใต้ติดเขมร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สรรพคุณ : ใบ , เถา, ราก รสฝาดขื่นเย็น สรรคุณใช้ได้เหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า นอกจากนั้นยังใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มดื่ม ***อ้างอิงจาก : สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย.วุฒิ วุฒิธรรมเวช หน้า 391 ***ย่านาง อยู่ในพิกัดเบญจโลกวิเชียร คือ จำกัดจำนวนตัวเสมอด้วยแก้ววิเชียร 5 อย่าง คือ (แก้ว 5 ดวง , ยา 5 ราก หรือ เพชรสว่าง) ประกอบด้วย รากชิงชี่ รากย่านาง รากท้าวยายม่อม รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร สรรพคุณ ใช้กระทุ้งพิษต่างๆ หรือถอนพิษต่างๆ แก้ไข้ต้นมือ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ...